Butterflyfish

ปลาผีเสื้อ

เพื่อนๆค่ะ คนชอบปลามีพันธุ์ปลาสวยงามน้ำเค็ม มีสีสันและลวดลายสวยงาม เป็นสีสันให้กับท้องทะเลได้อย่างดี มาแนะนำให้เพื่อนๆรู้จัก ได้แก่ปลาผีเสื้อ

  • ปลาผีเสื้อ  ( Butterflyfish)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Chaetodon lunulatus

วงศ์ตระกูล           Chaetodontidae พบประมาณ 120 ชนิดทั่วโลก ในเมืองไทย พบไม่ต่ำกว่า 25 ชนิด

แหล่งพบ             ในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน

  • ลักษณะโดยทั่วไป

– ปลาผีเสื้อมีลำตัวสั้น แลนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด

– ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้า และก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง

– ปลาผีเสื้อมีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆ ไม่ว่องไวเหมือนปลาอื่นๆ

– เป็นปลาที่หากินเวลากลางวัน เมื่อพลบค่ำจะหลบเข้าไปหาที่หลับนอนตามซอกหิน หรือโพรงปะการัง ในเวลากลางคืนปลาผีเสื้อจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นโดยจะเป็นแต้มสีน้ำตาล หรือแถบสีเทาก็เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายและสัตรู

– ปลาผีเสื้อ กินปะการังเป็นอาหาร จึงเป็นสัตวืที่มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง นักวิทยาศาสตร์ใช้ปลาผีเสื้อ เป็นเกณฑ์กำหนดความสมบูรณ์ของแนวปะการัง

Regal Angelfish

ปลาสินสมุทรบั้ง

เพื่อนๆค่ะ คนชอบปลา เคยคุยถึงเรื่องพันธุ์ปลาทะเลสวยงาม ปลาสินสมุทรมาหลายชนิดครั้งนี้ขอคุยต่อถึงเรื่อง ปลาสินสมุทรบั้ง

  • ปลาสินสมุทรบั้ง


ชื่ออังกฤษ      Regal Angelfish


ชื่อวิทยาศาสตร์   Pygoplites diacanthus

ตระกูล   Chastodontidae

แหล่งที่อยู่  พบในเขตร้อน อินโด-แปซิฟิก

ลักษณะ  รูปร่างคล้ายปลาตระกูล Pomacanthus

  • สี  สีของลูกปลาและปลาที่โตแล้วจะต่างกัน ตอนเป็นลูกปลาจะมีแถบสีอ่อนซึ่งมีขอบสีเข้ม 4 แถบพาดผ่านสีข้างช่วงตอนท้ายของครีบหลังจะมีปื้นสีเข้มขนาดใหญ่ ส่วนปลาที่โตแล้ว ตอนบนของหัวจะมีสีฟ้าอมเทา จมูก ลูกคางและหน้าอกจะเป็นสีเหลืองอ่อน ลำตัวมีสีส้มสดเป็นสีพื้นและมีแนวสีฟ้า่อ่อน ขอบเข้มอีก 5-9 เส้นแนวพาดตรงจากหลังจรดบริเวณท้อง ครีบหางสีเหลืองสด

ขนาด   ประมาณ 10นิ้ว ( 25 ซม. )

สภาพแวดล้อม  อุณหภูมิ  79 – 84 องศาฟาเรนไฮด์ ( 26 – 29 องศาเซลเซียส )

ค่า pH มากกว่า 8 ความหนาแน่นของน้ำ 1,020 -1,023


การส่องสว่าง    ชอบแสงสว่าง

อุปนิสัย ชอบอยู่ตัวเดียว หวงอาณาเขต เวลาเลี้ยงในตู้ปลาจะมีลักษณะที่ก้าวร้าวมาก ควรเลี้ยงตัวเดียวในตู้ปลาขนาดใหญ่

การเลี้ยงดู    ตามธรรมชาติกิน mollusk และมีเปลือกแข็งประเภท ปู กุ้งหอย และ tubfex  ต้องการอาหารประเภทผักจำนวนมาก ควรให้วิตามินอาทิตย์ละครั้ง

ข้อแนะนำ   เข้าได้ดีกับปลา butterfly fish และ Paracanthurus hepatus

Seahorse

ม้าน้ำ

เพื่อนๆค่ะ เคยเห็นปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่หน้าตาไม่เหมือนปลาเลย มีหน้ายาวๆปากแหลมๆ เหมือนม้า ซึ่งคนชอบปลา จะแนะนำเพื่อนๆ ได้แก่  ม้าน้ำ

  • ม้าน้ำ  ( Seahorse )

ชื่อวิทยาศาสตร์         Hippocampus kuda Bleeker

ตระกูล                    SYNGNATHIDAE

  • ลักษณะโดยทั่วไป

– ม้าน้ำ เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน คือ มีกระดูกหรือก้างมาห่อหุ้มเป็นเกราะอยู่ภายนอกตัวแทนเกล็ด

– ส่วนหัวจะมีลักษณะเหมือนม้าที่มีปากยื่นออกเป็นท่อ ไม่มีกราม ตรงปลายมีที่เปิดใช้สำหรับดูดกินอาหาร  ลำตัวปกคลุมด้วยเปลือกแข็ง

– ส่วนหาง แทนที่จะเป็นครีบสำหรับว่ายน้ำเหมือนปลาชนิดอื่น กลับมีหางยาวเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน มีไว้เพียงเพื่อเกี่ยวยึดตัวเองกับพืชน้ำ หรือปะการังในน้ำ

– มีครีบอก และครีบบางใส ตรงเอวอีกครีบหนึ่งโบกพัดกระพือ โดยครีบทั้ง 2 นี้ จะโบกพัดด้วยความเร็วประมาณ 20 -30 ครั้งต่อวินาที  ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้อย่างช้าๆ

– ปกติม้าน้ำมักจะว่ายน้ำเป็นในลักษณะขึ้น – ลง มากกว่าไปข้างหน้า – ข้างหลัง เหมือนปลาชนิดอื่น

– ความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อเหยียดตรงจะยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิด

– พื้นลำตัวมีสีดำ หรือสีเหลือง หรือสีม่วง และสีเหลืองหรือม่วงสามารถเปลี่ยนสีได้

– ตัวผู้จะมีลักษณะที่ต่างจากตัวเมีย คือมีถุงหน้าท้อง ( brood pouch ) สำหรับฟักไข่เป็นตัวและทำหน้าที่คลอดลูกแทนตัวเมีย

  • แหล่งที่อยู่อาศัย

– ม้าน้ำอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะหลักหอยแมลงภู่ หรือตามดงสาหร่าย  และบริเวณชายฝั่งทะเล

  • อาหาร

– จำพวกแพลงก์ตอน และสัตว์น้ำ ขนาดเล็กๆ

  • ม้าน้ำ โดยธรรมชาติแล้วม้าน้ำตัวผู้จะต้องเป็นฝ่ายอุ้มท้องแทนตัวเมีย ดังนั้นจึงมีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ และจะอุ้มท้องนานประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ตัวเมียจะคอยวนเวียนอยู่ใกล้ๆ จนกว่าตัวผู้จะฝักลูกออกมาเป็นตัว และจะอยู่ด้วยกันตลอด จนกว่าตัวใดตัวหนึ่งจะตาย ตัวที่เหลือถึงจะไปจับคู่ใหม่แต่ใช้เวลานานพอสมควร

Imperial Angelfish

ปลาทะเล สินสมุทร

เพื่อนๆค่ะ คงไม่มีใครเถียงนะค่ะว่าโลกใต้ท้องทะเล นั้นมีความงดงามเหมือนเป็นดินแดนที่น่าพิศวงและน่าค้นหา คนชอบปลาอยากจะแนะนำนางฟ้าประจำท้องทะเลให้เพื่อนๆได้รู้จัก นั่นคือปลาสินสมุทรลาย…

ปลาสินสมุทรลาย หรือปลาสินสมุทรจักรพรรดิ์
ชื่ออังกฤษ  Imperial Angelfish
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pomacanthus imperator
ตระกูล  Chaetodontiase

แหล่งที่อยู่ พบมากในเขตร้อนอินโด-แปซิฟิก, แอฟริกาด้านตะวันออกและทะเลแดงทางฝั่งตะวันตก จรดทางตะวันออกของโปลินีเซีย

ลักษณะ  
  • รูปร่างคล้ายปลาตระกูล P.annularis
  • ลำตัวแบนกว้าง ปากเล็ก ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบหลังเชื่อมต่อกัน ครีบหูใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบท้องยาวแหลม ครีบทวารโค้งมน ครีบหางปลายตัดและโค้งเล็กน้อย
  • ขนาดประมาณ 14 นิ้ว( 35 ซม.)
  • จะมีการเปลี่ยนลวดลายสีตามช่วงอายุต่างๆ
-สีของลูกปลา จะมีสีน้ำเงินแก่ และแถบสีขาวหรือฟ้าอ่อนซ้อนกัน และจะมีวงแหวนบนโคนหาง บริเวณช่วงท้ายๆของครีบหลังและครีบก้นจะมีสีขาว หรือฟ้าอ่อนสานกันเป็นร่างแห
-ส่วนปลาโตแล้ว มีพื้นเป็นสีม่วง น้ำตาลอมฟ้าเขียว มีปื้นสีดำหลังหัว และบริเวณหน้าผาก ตา แก้ม ปื้นมีสีฟ้าเป็นขอบ มีริ้วสีเหลืองจำนวนมากพาดแทยง ครีบหางเป็นสีส้มสด

สภาพแวดล้อม มักอาศัยบริเวณโขดหิน เกาะแก่งหรือแนวปะการังที่สมบูรณ์

– ถ้าเลี้ยงในตู้ปลา ใช้อุณหภูมิ: 75-82 องศาฟาเรนไฮด์ (24-28 เซลเซียล)

– ค่า ph: 8.2-8.5
– ความหนาแน่นของน้ำ : 1:025

– ความส่องสว่าง: ชอบแสงสว่าง

– การตกแต่งตู้: ควรมีที่สำหรับหลบซ่อน

อาหาร สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก บ้างก็กินฟองน้ำ แต่เมื่อเอามาเลี้ยงในตู้จะค่อนข้างจูี้จี้ เลือกกิน แต่ตอนเป็นลูกปลาสามารถปรับตัวเข้ากับอาหารในตู้ปลาได้ง่าย
การเลี้ยงดู เป็นปลาที่หวงอาณาเขต ชอบอยู่ตัวเดียว ควรระมัดระวังให้ดีถ้าเลี้ยงรวมกับปลาตระกูลอื่น

ปลาสินสมุทร ที่พบในประเทศมีประมาณ 8ชนิด โดยพบทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

Lion Fish

ปลาสิงโต

เพื่อนๆค่ะ เคยเห็นปลาทะเลที่รูปร่างหน้าตาแปลกประหลาดมั้ยค่ะ คนชอบปลาจะแนะนำปลาหน้าตาแปลกๆนี้ให้เพื่อนๆได้รู้จัก ได้แก่ ปลาสิงโต  

ชื่อสามัญ  Lion Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pterois antennata
ขนาดลำตัว 8-13 ซม.

ปลาสิงโต เป็นปลามีพิษซึ่งพิษอยู่ที่ก้านครีบ ปลาสิงโตจะอยู่ในครอบครัว Scorpaenidae ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่

  1. ปลาสิงโต ( Pteroinae ) และ

2.ปลาหินและปลาแมงป่อง ( Scorpaeninae )
ทั้งหมดนี้จะเป็นปลามีพิษร้ายแรง โดยที่พิษจะอยู่ที่ครีบแข็งทั้งหลาย เช่น ครีบอก ครีบหลัง พิษพวกนี้มีไว้ให้ป้องกันตัวอย่างเดียว เมื่อมีอันตรายเข้าใกล้ ปลาสิงโตจะกางครีบ เป็นการข่มขู่ แต่จะไม่ค่อยออกมาโจมตี หรือเอาครีบทิ่มแทงใคร

ปลาสิงโต ชอบอำพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้าไปโดนพิษส่วนใหญ่จะเจ็บจี๊ดแล้วปวดขึ้นเรื่อยๆ

ข้อแนะนำ ถ้าโดนพิษปลาสิงโต ให้ทำความสะอาดแผล แล้วใช้ความร้อนเข้าสู้ พิษของปลาพวกนี้จะเป็นโปรตีน เมื่อโดนความร้อนจะสลายไป อาจจะใช้ไดร์เป่าผม น้ำอุ่น กระเป๋าน้ำร้อน หรืออะไรก็ได้ที่ร้อนๆประคบไว้ อาจจะใช้วิธีอังไฟก็ได้นะค่ะ ปรกติจะปวดประมาณ 24 ชม.แล้วจะค่อยๆ เบาลง

ลัษณะทั่วไป
  • ปลาตัวนี้จะมีลำตัวที่หนา มีครีบที่แข็งทั้งยังเป็นพิษร้าย บริเวณหัวจะมีหนามแหลม แต่บางตัวจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผิวหนังตามหัว และลำตัวเป็นแผ่นยื่นออกมากซึ่งคล้ายกันปลาพันธุ์นี้มีหนวด การว่ายน้ำค่อนข้างเชื่องช้าชอบนอนนิ่งอยู่ตามพื้น ปลาสิงโตบางตัวมีสีที่กลมกลืนกับสีของพื้นทะเลซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการอำพรางตัวเพื่อล่าอาหารอีกด้วย

ปลาสิงโต ชนิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

1.ปลาสิงโตครีบยาว หรือปลาสิงโตธรรมดา ชื่อสามัญ  Ragged-Finned lionfish  ปลาสิงโตพันธุ์นี้จะมีจุดเด่น คือ ครีบของปลาค่อนข้างยาว บริเวณลำตัวจะเป็นลายแดงสลับแถบขาว ส่วนครีบของปลามีลักษณะเป็นหนวดยาว พบได้ทั้งมีสีขาว และลายบ้างเล็กน้อย
2.ปลาสิงโตลายขาว    ชื่อสามัญ White-lined lionfish  ปลาสิงโตลายขาวจะเหมือนกับปลาสิงโตครีบยาว บริเวณลำตัวจะมีลายสีขาวเส้นเล็กๆคาดบริเวณลำตัว หนวดนั้นส่วนใหญ่จะพบเป็นสีขาว มีข้อแตกต่างจากปลาสิงโตครีบยาว คือจะมีลายเส้นขาวเล็กๆพาดตามตัวเป็นหลัก

อาหาร ปลาสิงโตจะลอยตัวนิ่งๆพุ่งเข้าชาร์ทเพยื่อด้วยความเร็วสูง กินปลาเล็ก หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกกุ้ง ปู เป็นอาหาร

 ปลาสิงโต สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าปากของมัน โดยสามารถเลี้ยงรวมกับ กลุ่มปลาเก๋า ปลากระพง หรือปลาสร้อยนกเขาชนิดต่างๆ แม้กระทั่งในกลุ่มปลาหิน หรือปลานกขุนทอง ปลาตาหวาน ก็ได้

ปลาที่ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงรวมกับปลาสิงโต ได้แก่ ปลาเล็กๆ หรือปลาที่ชอบแทะเล็มปลาอื่น ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาขี้ตังเบ็ด เพราะปลาพวกนี้ชอบไล่ตอด ทำให้ปลาสิงโตเกิดความรำคาญและเป็นแผลได้

เพื่อนๆค่ะ จริงๆแล้วปลาสิงโต หรือสัตว์มีพิษทุกตัวที่อยู่ในทะเล คงไม่คิดอยากที่จะทำร้ายใครเพียงแต่เขาป้องกันตัวเองเท่านั้น คนชอบปลา อยากชวนเพื่อนๆมาลองเลี้ยงปลาสิงโต ด้วยกันค่ะ

Clownfish

ปลาการ์ตูน (Clownfish) เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกปลาสลิดหิน พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก ปลาการ์ตูน ชอบอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลที่มีเข็มพิษสำหรับป้องกันอันตราย แต่ไม่เป็นอันตรายกับ ปลาการ์ตูน ทำให้สามารถอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัยกัน

ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน เป็นปลาทะเลที่นิยมนำมาเลี้ยงกัน เพราะมีสีสันสวยงาม ปลาการ์ตูน ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตามธรรมชาตินั้น ปลาการ์ตูน จะอยู่กันเป็นครอบครัว และกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน เป็นปลาที่หวงถิ่นมากจะมีเขตที่อยู่ของตนเอง

สำหรับ ปลาการ์ตูน มีทั้งหมด 28 ชนิด ในเมืองไทยพบ ปลาการ์ตูน 7 ชนิด พบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียแดง ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ ปลาการ์ตูนอานม้า ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนอินเดียน

ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน ทั้ง 7 ชนิด ที่พบในประเทศไทย สามารถที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ในตู้เลี้ยงได้ทุกชนิด การเพาะพันธุ์ ปลาการ์ตูน นั้น ต้องเริ่มจากการจับคู่พ่อ-แม่พันธุ์ที่จะผสมพันธุ์วางใข่ เพศของปลาการ์ตูนนั้นไม่สามารถบอกได้จากลักษณะภายนอก อีกทั้ง ปลาการ์ตูน สามารถที่จะเปลี่ยนเพศได้ โดยเพศของ ปลาการ์ตูน จะถูกกำหนดโดยโครงสร้างของสังคม และเมื่อเปลี่ยนเป็นเพศเมียแล้ว จะไม่สามารถกลับมาเป็นเพศผู้ได้อีก ทำให้การจับคู่ ปลาการ์ตูน มีความสลับซับซ้อนมาก

สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ การเลี้ยง ปลาการ์ตูน เพื่อเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ จึงควรเริ่มจากปลาที่มีขนาดยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ และควรใช้ ปลาการ์ตูน ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมากกว่าปลาธรรมชาติ เพราะจะมีความทนทานมากกว่า โดยควรนำปลามาเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง ประมาณ 6-8 ตัว หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับขนาดตู้เลี้ยง เมื่อ ปลาการ์ตูน เริ่มจับคู่จะสังเกตว่าทั้งสองตัวจะแยกตัวออกจากฝูงและหวงอาณาเขต จากนั้นให้แยก ปลาการ์ตูน คู่นั้นออกจากตู้ไปเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้สำหรับเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

การเลี้ยง ปลาการ์ตูน พ่อพันธุ์ – แม่พันธุ์

ตู้ที่ใช้เลี้ยง ปลาการ์ตูน พ่อพันธุ์ – แม่พันธุ์ ควรมีขนาดความจุอย่างต่ำ ประมาณ 100 ลิตร มีระบบกรองภายในหรือภายนอกตู้ เลี้ยงปลาแยกกันตู้ละ 1 คู่ ในตู้ให้จัดหาวัสดุสำหรับให้ปลาหลบซ่อน และสำหรับวางไข่ได้ เช่น แผ่นกระเบื้องปูพื้น กระเบื้องทะเลเข้าไปในตู้ เพราะปลาสามารถวางไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเลอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อ – แม่พันธุ์ ให้ใช้อาหารสดที่มีคุณภาพดี เช่นเนื้อหอยลายสับ เนื้อกุ้ง ไรน้ำเค็มที่เสริมกรดไขมัน ไข่ตุ๋น ฯลฯ สลับกัน ให้อาหารวันละ 1 – 2 ครั้ง ระวังอย่าให้มีอาหารตกค้างอยู่ในตู้ ควบคุมคุณภาพน้ำโดยการทำความสะอาดก้นตู้ เปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 10-20% ทุก 2 อาทิตย์

การดูแลและการฟักไข่ ปลาการ์ตูน

พ่อ – แม่ปลาจะทำการดูแลไข่ในระหว่างการฟัก ซึ่งส่วนใหญ่ตัวผู้จะรับหน้าที่ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 7 วัน แต่ในช่วงอากาศหนาวจะใช้เวลาประมาณ 5-9 วัน หรือในช่วงทีอากาศร้อนจะใช้เวลาประมาณ 6 วัน การนำไข่ออกมาฟัก สามารถกระทำได้แต่จะให้ผลไม่ดีเท่ากับปล่อยให้พ่อ – แม่ปลาฟักไช่เอง การสังเกตว่าลูกปลาจะฟักหรือยัง สังเกตได้จากตาของลูกปลาที่อยู่ในถุงไข่ จะกลายเป็นสีน้ำเงินสะท้อนแสง ซึ่งแสดงว่าลูกปลาพร้อมที่จะฟักออกเป็นตัวแล้ว ลูกปลาจะฟักในช่วงหัวค่ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากมืดสนิท

การอนุบาลปลาลูก ปลาการ์ตูน

หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวให้แยกลูกปลาออกจากตู้ โดยใช้กระชอนผ้ารวบรวมลูกปลาและตักออกมาพร้อมน้ำ ระวังอย่าให้ลูกปลาสัมผัสกับอากาศ นำไปอนุบาลในตู้กระจกขนาดเล็ก ความหนาแน่นสูงสุดไม่ควรเกิน 10 ตัวต่อลิตร ให้อากาศแรงพอประมาณ ระหว่างการอนุบาลใช้ โรติเฟอร์ ไรน้ำเค็ม และสาหร่ายชนาดเล็ก เช่น ไอโซโครซิส เป็นอาหารในระยะ 2-3 วันแรกอาจใช้วิธีเพิ่มน้ ในตู้ปลาอนุบาล

หลังจากนั้นจึงทำการดูดตะกอน เปลี่ยนถ่ายน้ำมันทุกวัน วันละ 20-50% ลูกปลาจะเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยจะมีลวดลาย สีสันบนลำตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเหมือนกับพ่อ – แม่โดยสมบูรณ์ เมื่อมีอายุได้ 3-4 สัปดาห์ และลูกปลาจะลงไปอาศัยอยู่ที่พื้นกันตู้ ถือว่าสิ้นสุดระยะของการอนุบาล จึงย้ายลูกปลาไปเลี้ยงต่อในตู้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อัตรารอดของลูกปลาเฉลี่ยประมาณ 10-20% และลูกปลาจะมีขนาดความยาวประมาณ 8-10 มม.

การเลี้ยงปลาการ์ตูน

เมื่อพ้นระยะอนุบาล ให้นำปลามาเลี้ยงในตู้เลี้ยงในตู้เลี้ยงที่ใหญ่ขึ้น ความหนาแน่น ประมาณ 1 ตัวต่อลิตร และเริ่มเปลี่ยนอาหารมาเป็นอาหารสด เช่น หอยลายสับหรือเนื้อกุ้งสับ หรือจะให้อาหารที่ผสมขึ้นเอง โดยค่อยๆ ลดไรน้ำเค็มลง ตู้ที่ใช้เลี้ยงต้องมีระบบกรองภายในหรือภายนอกมีการทำความสะอาดและเปลี่ยน ถ่ายน้ำเป็นระยะ เข่น มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20% ทุก 2 สัปดาห์

สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากในการเลี้ยง ปลาการ์ตูน คือ คุณภาพน้ำและความหนาแน่น ถ้าให้อาหารมากเกินไป มีสิ่งสกปรกหมักหมมอยู่ในตู้เลี้ยงหรือมีความหนาแน่นมาก มักจะเกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจาก Amyloodinium Ocellatum ซึ่งเมื่อเกิดแล้วลูกปลาจะตายเกือบหมด

ดังนั้น การดูแลรักษาความสะอาดและคุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และความต้องการจับคู่ พ่อ-แม่พันธุ์ ควรจะนำปลาที่มีอายุประมาณ 4-6 เดือน แยกเลี้ยงเป็นพ่อ – แม่พันธุ์ต่อไป โดยปลาจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8-12 เดือน

การให้อาหาร ปลาการ์ตูน

การเลี้ยงปลาทะเลเพื่อเลี้ยงดูสวยงามนั้น ไม่ควรให้กินอาหารเกินวันละครั้งและควรให้กินแต่พออิ่ม ไม่ควรให้ตามที่ปลาต้องการ เพราะจะทำให้เกิดของเสียมาก บางช่วงถ้าปลาไม่กินอาหารเช่นในช่วยที่อากาศเย็น จะต้องงดให้อาหารหรือลดปริมาณของอาหารลง อาหารที่ให้อาจเป็นเนื้อกุ้งสับ หอยลานสับ กุ้งเคย อาหารสำหรับปลาทะเล ฯลฯ สลับกันไป และเมื่อมีอาหารเหลือตกอยู่ก้นตู้ต้องกำจัดออก ห้ามปล่อยทิ้งไว้กับตู้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสีย

ภาพงานวันประมงน้อมเกล้าครั้งที่ 22 ปี 2554 ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต

ภาพงานวันประมงน้อมเกล้าครั้งที่ 22 ปี 2554 ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต

สิ่งที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ทะเล

สิ่งที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ทะเล
     ร้านขายปลาทะเลโดยทั่วไปแล้ว มักจะขายสัตว์ทะเลที่มีสีสันสวยงามหลากหลายชนิด 
โดยที่อาจจะไม่มีความรู้ หรือไม่คำนึงเลยว่า สัตว์เหล่านั้นเลี้ยงยากแค่ไหนในระบบปิด 
หรือบางชนิดนั้นอาจจะไม่สามารถเลี้ยงได้เลย หรืออาจใกล้สูญพันธุ์ุ๋แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการ
ป้องกันและร่วมอนุรักษ์ เราจึงควรพิจารณา ว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใดที่เราควรนำมาเลี้ยงและไม่ควร
นำมาเลี้ยง เนื่องด้วยหลายๆปัจจัย เพื่อที่เราจะได้ไม่สนับสนุนการค้าขายสัตว์เหล่านั้น
ในท้องตลาด สิ่งที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ทะเล

ทากทะเล : ทากทะเลเป็นสัตว์ที่มีสีสันสวยงามสะดุดตามาก อีกทั้งยังมีรูปร่างแปลกจนเป็นที่
สะดุดตาสำหรับนักเลี้ยงมือใหม่ ถ้าเราไปตามร้านขายปลาทะเล คนขายมักบอกเราว่า
ทากทะเลเลี้ยงง่าย กินตะไคร่ และัราคาก็ไม่แพงจนเกินไปนัก ทำให้เราหลงกลเอาง่ายๆ
ซึ่งอันที่จริงแล้ว ทากทะเลเป็นสัตว์ที่กินอาหารจำเพาะ เช่นฟองน้ำทะเล ซึ่งหายากและ
อาจมีราคาแพง อีกทั้งยังมีวงจรชีวิตที่สั้น และตายได้ในเวลาไม่นานนัก ดังนั้นเราจึงไม่ควร
สนับสนุนการเลี้ยงทากทะเล

ปลาจิ้มฟันจระเข้ : หรือ Pipe fish เป็นปลาตระกูลเดียวกับม้าน้ำ มีลักษณะลำตัวเรียวยาว 
ปากแหลมยาวคล้ายจระเข้ เคลื่อนไหวช้า สีสวยงามและรูปร่างแปลก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปลา
ชนิดนี้กินอาหารยากมาก เพราะมีลักษณะปากที่เล็กจึงกินได้เฉพาะอาหารที่มีขนาดเล็กๆ
เท่านั้น และการเคลื่อนไหวที่้ช้าของมัน ทำให้กินอาหารได้ไม่ทันปลาตัวอื่น ซึ่งส่วนใหญ่
ปลาชนิดนี้มักจะเลี้ยงได้ไม่นานและตายในที่สุด

ปลาผีเสื้อ : ปลาผีเสื้อเป็นปลาที่พบบ่อยมากตามท้องตลาด เป็นปลาที่มีความสวยงาม น่าสนใจ
และดูเหมือนจะเลี้ยงง่าย แต่ที่จริงแล้วเป็นปลาที่เลี้ยงยากและมักจะตายโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ 
( เปื่อยตาย ) หรืออยู่ๆก็ตาย ซึ่งอาจจะทำให้ติดเชื้อไปกับปลาในตู้อีกหลายๆตัวก็ได้ สาเหตุ
อาจเนื่องจากปลาผีเสื้อมีปากขนาดเล็ก จึงต้องกินอาหารที่จำเพาะ และอาหารหลักของมัน
คือพวกโพลิปของปะการัง ซึ่งอาจทำให้มันขาดสารอาหารที่จำเป็นและตายได้ในตู้ทะเลได้
แต่ก็มีปลาผีเสื้อบางชนิดเท่านั้นที่สามารถเลี้ยงได้ เช่น ผีเสื้อนกกระจิบ เป็นต้น ที่สามารถ
เลี้ยงได้ ซึ่งปลาผีเสื้อชนิดนี้อาจช่วยกิน Aiptesia ซึ่งเป็นอันตรายต่อปะการังในตู้ของเราได้

Aiptesia : เป็น Anemone ชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก สีน้ำตาล ใสๆ มักติดมากับก้อนหินและ
สามารถแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว แทบทุกสภาวะ ทำให้ขยายพันธุ์ในตู้อย่างรวดเร็ว และเนื่องจาก
มันมีพิษต่อปะการังชนิดอื่น จึงทำให้ปะการังชนิดอื่นเหี่ยวและตายได้ ซึ่งส่วนมาก คนเลี้ยง
มือใหม่มักจะไม่รู้ นึกว่าเป็นปะการังธรรมดาและอาจถูกร้านค้าหลอกได้ ซึ่งเราสามารถ
กำจัดได้โดย ปลาผีเสื้อนกกระจิบ และ กุ้งเปปเปอร์มินต์ หรือใช้น้ำร้อนฉีดที่ตัวมัน แต่ไม่ควร
ใช้วิธีทำให้มันขาด เพราะจะทำให้มันยิ่งขยายพันธุ์ 

กั้ง : จริงๆแล้วกั้งเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย แต่เนื่องจากกั้งกินปลา และสามารถโตได้จนมีขนาดใหญ่
จึงไม่แนะนำให้เลี้ยงรวมกับปลา ซึ่งบางทีเราอาจจะเห็น กั้งตั๊กแตน ที่มีสีสันสวยงามในร้าน
ขายปลาทะเล แล้วอาจจะซื้อมาโดยที่ไม่รู้ก็ได้ ซึ่งสัตว์ที่เลี้ยงง่ายแต่เป็นอันตรายต่อปลา
ก็มีอีก เช่น ปู ปลาหมึก หรือ กุ้งมังกร เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ควรเลี้ยงแยกตู้หรือเลี้ยงใน
ตู้เฉพาะเท่านั้น

ม้าน้ำ : พบเห็นได้บ่อยๆ ในร้านขายปลาทะเล ซึ่งจริงๆแล้วม้าน้ำไม่ใช่ว่าจะเลี้ยงไม่ได้ แต่ 
อาจจะเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะม้าน้ำนั้นเชื่องช้า โดนปลาอื่นแย่งกินอาหารได้ง่าย จึงไม่ควร
เลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ควรจะเลี้ยงในตู้เฉพาะที่มีลักษณะทรงสูง และเนื่องจากม้าน้ำ
มีปากที่เล็ก จึงกินอาหารได้จำกัด ( กินแต่ไรทะเลอาจ ได้สารอาหารไม่เพียงพอ ) 
เช่น อาร์ทีเมีย เป็นต้น และมักจะพบปัญหาไม่ยอมกินอาหาร ซึ่งส่วนมากม้าน้ำมักจะตาย 
เนื่องจากขาดอาหารนั่นเอง แต่โดยรวมแล้วสามารถเลี้ยงได้ง่ายกว่าปลาตระกูล Pipe fish

sea apple : เป็นสัตว์ทะเลที่มีสีสันสวยงามและมีรูปร่างประหลาด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เลี้ยง
สัตว์ชนิดนี้ไม่รอดเนื่องจาก มันกินแพลงตอนจำนวนมาก ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะให้ได้ในตู้ทะเล
เนื่องจากอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ จึงมักจะตายเพราะขาดอาหาร และเมื่อมันตายอาจจะทำ
ให้น้ำในตู้เน่าเสียได้จากพิษที่มันปล่อยออกมา้ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆในตู้ทะเลอีกด้วย

หินเขียว : เป็นปะการังที่มีราคาไม่แพงนัก มีลักษณะเป็นโพลิป มีสีสะท้อนแสงไฟที่สวยงามมาก
แต่เนื่องจากยังไม่มีใครที่เข้าใจถึงสภาวะความต้องการที่แท้จริงของมันได้ จึงเป็นอีกหนึ่ง
สิ่งที่เลี้ยงไม่รอดในระบบปิด เนื่องจากจะค่อยๆตายลงจนหมดก้อนในที่สุด จึงไม่แนะนำให้เลี้ยง

สาหร่ายถั่วงอก : เป็นสาหร่ายสีขาว ปลายเขียว ลักษณะเป็นเส้นหนารวมกันเยอะๆ ราคาไม่แพง
ซึ่งยังไม่ทราบถึงสภาวะที่เหมาะสมกับมัน เพราะเมื่อเลี้ยงไปซักพักจะค่อยๆ ละลายหายไป
จนหมดก้อนและัตายในที่สุด จึงไม่แนะนำให้เลี้ยง

สาหร่ายมู่ลู่ : เป็นสาหร่ายสีเขียวสดสวยงามและเป็นอีกหนึ่งชนิดที่เลี้ยงยากมาก แต่อาจเลี้ยงได้
ในสภาวะที่แสงจัดมากๆ และมีกระแสน้ำพัดที่แรงๆ ซึ่งเมื่อเลี้ยงไปมักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
และค่อยๆเหี่ยวตายไปในที่สุด

ปลาทองทะเล : หรือปลาในตระกูลแอนเทียส เป็นปลาเล็กที่มีสีสันสวยงามมาก มักจะอยู่รวมกัน
เป็นฝูงในธรรมชาติและยังเป็นปลาที่มี metabolism สูงมาก คือจะกินและขับถ่ายทั้งวัน
นอกจากนี้ปลาชนิดนี้ยังชอบอยู่ในน้ำเย็นๆอีกด้วย ซึ่งเนื่องจากสภาวะหลายๆอย่าง ทำให้ปลา
ชนิดนี้มักตายในตู้โดยไม่ทราบสาเหตุ คาดว่าอาจมาจากการขาดอาหารที่ไม่สามารถรองรับ
การเผาผลาญของร่างกายได้และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหลายๆอย่าง

ปลาเซอร์เจี้ยนลาย : เป็นปลาตระกูลแทงค์ชนิดหนึ่งที่ราคาค่อนข้างถูก และสีสันสวยงาม แต่
น่าเสียดายที่มักมีปัญหาไม่กินอาหาร ขี้ตกใจ และมักจะเปื่อยตายไปในที่สุด ดังนั้นจึงไม่แนะนำ
ให้เลี้ยงปลาชนิดนี้เนื่องจากเลี้ยงให้รอดได้ยากภายในระบบปิด

ปลาพยาบาล : รวมถึงปลาตระกูล Wrass อีกหลายๆชนิดที่เลี้ยงยาก และมักจะตายไปโดย
ไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากเป็นปลาที่อ่อนแอ และเป็นโรคง่ายดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้่ยง
แม้ว่ามันจะมีราคาถูกก็ตาม

ปลาแมนดาริน : เป็นปลาที่มีหน้าตาแปลก เคลื่อนไหวช้า และปากเล็ก จึงกินอาหารได้จำกัด
โดยปลาชนิดนี้มักกินเฉพาะอาหารสดที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเพียงแค่ไรทะเลอาจไม่เพียงพอ
ซี่งตู้ที่สามารถเลี้ยงแมนดารินได้ควรจะเป็นตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่และมีหินเป็น เป็นจำนวนมาก
เนื่องจากจะได้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์เล็กๆ เช่น Pod ไว้เป็นอาหารภายในตู้อย่างเพียงพอ
สำหรับตู้เล็กนั้นไม่แนะนำเพราะอาจเกิดปัญหาการขาดอาหารได้เพราะปลาชนิดนี้จะกิน
อาหารตลอดเวลา แต่โดยรวมแล้วถือว่าเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ และปัจจุบันสามารถเพาะ
พันธุ์ได้แล้วในระบบปิด

แมงกระพรุน : เป็นสัตว์มีพิษที่เลี้ยงได้ยาก และมีวงจรชีวิตสั้น อาจมีปัญหาเรื่องอาหารและ
ปล่อยพิษเมื่อตาย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยง เนื่องจากเลี้ยงให้รอดได้ยากในระบบปิด

ปะการังเขากวาง : เป็นปะการังโครงแข็งที่สวยงามและบ่งบอกถึงความเป็นทะเลได้มากๆ
แต่ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงได้ยากมาก ต้องละเอียดอ่อนและมีปัจจัยหลายอย่างที่จะเลี้ยง
เนื่องจากอ่อนไหวกับสภาวะภายในตู้ ต้องการแสงจัดมาก และอุณภูมิที่เย็นมาก ( 24 – 25
องศาเซลเซียส ) ต้องการกระแสน้ำแรง ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปะการังอ่อนได้ ต้องใช้
แคลเซียมในการเลี้ยงสูง ซึ่งจากปัจจัยและความยากในการเลี้ยงหลายๆอย่างนี้ จึงไม่แนะนำ
ให้เลี้ยงปะการังชนิดนี้สำหรับมือใหม่

ช่อสี : เป็นปะการังอ่อนชนิดหนึ่งที่มีสีสันสวยงามมาก ไม่สังเคราะห์แสง จึงจำเป็นที่ต้อง
หาอาหารโดยการจับกินแพลงตอนจำนวนมหาศาลโดยโพลิปเล็กๆที่ยื่นออกมา ชอบน้ำเย็น
กระแสน้ำแรงๆ ซึ่งเป็นไปได้ยากมากสำหรับการเลี้ยงในระบบปิดที่จำกัด เพราะอาจก่อให้
เกิดปัญหาน้ำเสียได้จากปริมาณอาหารที่มาก ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการคุณภาพน้ำ
ที่สูงด้วย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยงในตู้ของเรา

ฟองน้ำ : มีหลายสีสันสวยงาม ซึ่งฟองน้ำพวกนี้จะดูดซับเอาสารต่างๆในตู้ของเราทั้งที่ดีและ
ไม่ดีเข้าไปในตัวมัน ซึ่งฟองน้ำพวกนี้ถือว่าเลี้ยงยากมากๆ เพราะต้องห้ามโดนอากาศ และ
ต้องไม่มีการรบกวนโดยตะไคร่ และเมื่ออยู่ๆไปก็จะค่อยๆซีดและตายลง แล้วจะปล่อยเอา
สิ่งที่มันดูดซับไว้ออกมา ทำให้น้ำเสียได้ ซึ่งบางครั้งก็สามารถเลี้ยงฟองน้ำได้ ไม่แน่นอน
แต่ค่อนข้างยาก จึงไม่แนะนำให้เลี้ยง นอกจากฟองน้ำที่เกิดขึ้นเองภายในตู้จะเลี้ยงได้
เพราะเหมือนกับว่ามันปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้แล้ว

ปลาไหลริบบิ้น : เป็นปลาไหลตัวแบนๆที่มีพู่ที่ปลายหัว สีสันสวยงามมีสีเหลือง,สีฟ้า,สีดำ
แตกต่างกันไปตามเพศและวัย เป็นสัตว์ที่หายากและักินอาหารได้ยาก มักจะตายในระบบ
ปิด ดังนั้นเราจึงควรสนับสนุนไม่เลี้ยงและปล่อยให้มันอยู่ในทะเลดีกว่า

ดาวขนนก : เป็นดาวชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายขนนกกระจาย ออกเป็นพู่ หากินด้วยการดัก
จับแพลงตอนจำนวนมากกินเป็นอาหาร รูปร่างคล้ายกับปะการังที่เคลื่อนที่ได้ แต่เมื่อเลี้ยงไป
เนื่องจากอาหารและสภาวะที่ไม่เหมาะสม ก็จะเริ่มขนร่วงๆไปจนตายไปในที่สุด
ถือว่าเลี้ยงไม่รอดในระบบปิด ดังนั้นจึงไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ทะเลเรา

ปลาปักเป้า : เป็นปลาที่มีพิษในตัว เคลื่อนไหวช้า และบางพันธุ์มีปากที่เล็กมาก จึงอาจมี
ปัญหาในการกินอาหารไม่ทันเืพื่อน แต่ปักเป้าบางชนิดก็สามารถเลี้ยงได้ไม่ยากนัก เช่น
ปักเป้าหน้าหมา ปักเป้าหนามทุเรียน ซึ่งเมื่อปลาชนิดนี้ตายในตู้แล้วอาจปล่อยพิษ ทำให้
ปลาตัวอื่นๆตายไปด้วย ถือว่าเลี้ยงค่อนข้างยากจึงไม่แนะนำให้เลี้ยง

ถ้วยส้ม : รวมถึงปะการังตระกูลนี้ด้วย เป็นปะการังที่มีสีสันสวยงามมาก ไม่สังเคราะห์แสง
จึงต้องกินอาหารจากโพลิปของมัน ซึ่งจริงๆแล้วถ้วยส้มนั้นเลี้ยงไม่ยากถ้าเรามีความพยายาม
และเอาใจใส่เพราะเราจำเป็นต้องป้อนอาหารสดเช่น กุ้งสับ ให้มันกินที่หนวดของมัน
และให้มันจับเข้าปาก สัปดาห์ละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง มิฉะนั้นมันอาจขาดอาหารและ
ค่อยๆตายไปได้ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ความขยันพอสมควรในการเลี้ยง

กัลปังหา : เป็นปะการังลักษณะที่แตกกิ่งก้าน สวยงาม ไม่สังเคราะห์แสง และมีโพลิปเล็กๆ
สำหรับจับแพลงตอนจำนวนมากเป็นอาหาร จึงมีปัญหาในการให้อาหารปริมาณที่จำกัด
เนื่องจากต้องรักษาคุณภาพน้ำด้วยคล้ายกับช่อสี ซึ่งเมื่อเลี้ยงไปก็จะค่อยๆตาย จึงไม่แนะนำ
ให้เลี้ยงในระบบปิด

หอย flame scallop : เป็นหอยสีแดงที่มี กระแสไฟฟ้าอยู่ที่ปาก สำหรับใช้จับแพลงตอนหรือ
สิ่งมีชีวิตเล็กๆในทะเลเป็นอาหาร รวมทั้งอาหารเหลว ซึ่งเลี้ยงได้ยากในระบบปิดเนื่องจาก
ความไม่เพียงพอของอาหาร เมื่อเลี้ยงไปกระแสไฟฟ้าจะค่อยๆหายไปและอาจทำให้น้ำ
เน่าเสียได้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น

ปลาทะเลสวยงามสำหรับการเลี้ยงเริ่มต้น

ปลาทะเลสวยงามสำหรับการเลี้ยงเริ่มต้น

           ในท้องตลาดปลาทะเลโดยทั่วไปแล้ว มีปลาทะเลหลากหลายชนิด ให้เราเลือกเลี้ยง
ซึ่งแต่ละชนิดนั้นก็มีความยาก-ง่ายในการเลี้ยงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความสามารถ
ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมในตู้ทะเลของเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับ
ผู้เลี้ยงปลาทะเลเริ่มต้นคือ ไม่รู้ว่าปลาชนิดไหนเลี้ยงง่าย หรือ เลี้ยงยาก จึงซื้อมาเลี้ยงด้วย
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต เสียเงิน และเสียกำลังใจในที่สุด ซึ่งสิ่ง
สำคัญที่เราควรตระหนักคือ เราไม่ควรซื้อปลาชนิดนั้นมาเลี้ยงเพราะเห็นว่าเลี้ยงง่าย แต่เมื่อ
เลี้ยงไปนานๆแล้วเบื่อ ก็นำไปไว้ที่อื่น เราควรเลือกซื้อปลาที่เราอยากเลี้ยงจรืงๆ โดยศึกษา
ข้อดี ข้อเสีย ของปลาชนิดนั้นๆว่าเหมาะกับการที่เราจะนำมาเลี้ยงหรือไม่ก่อนที่จะเลี้ยง

สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงปลาทะเลที่เีลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่
ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี – ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณา..

– ปลาตระกูลแดมเซล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10 )
ปลาชนิดนี้ส่วนมากจะมีสีน้ำเงินที่เราพบเห็นตามท้องตลาด มีหลากหลายชนิดทั้ง
แดมเซลหางเหลือง,บลูแดมเซล,เลมอนแดมเซล รวมถึงปลาโดมิโน ซึ่งมีสีดำ
และมีจุดเล็กๆ สีขาว 3 จุดบนตัว และปลาม้าลายที่มีลายขาวสลับดำบนลำตัว

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก
3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย
4.มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา

ข้อเสีย 1.เป็นปลาที่ดุมากๆ หวงถื่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ
กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น ( ข้อเสียมากๆ ) ยกเว้น
นีออนแดมเซลที่ดุน้อยที่สุดและสามารถเลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้
2.ชอบขุดพื้นเป็นรู ทำให้ทรายฟุ้งกระจาย และอาจทำให้หินในตู้ถล่มได้
3.เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก หลบเก่ง จึงทำให้จับยากมากเวลาจะเอาออกจากตู้
อาจต้องรื้อหินในตู้ทั้งหมดเพื่อทำการจับออก
4.สำหรับโดมิโนและม้าลายจะโตเร็วมาก และจะยิ่งเพิ่มความดุขึ้นเรื่อย ๆ

– ปลาตะกรับ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10 )
เป็นปลาที่มีหลายชนิด มีหลายสี มีทั้งตะกรับเขียว ตะกรับฟ้า เป็นต้น

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก โตเร็ว
3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย
4.เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงเป็นฝูงได้

ข้อเสีย – เป็นปลาที่มีสีสันไม่ฉูดฉาดเท่ากับปลาชนิดอื่น และสีซีดเมื่อโตขึ้น

– ปลาการ์ตูน ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่นิยมมากที่สุด มีหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนแดง
ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นต้น แต่ที่นิยมเลี้ยงส่วนมาก คือ
ปลาการ์ตูนส้ม จากการ์ตูนดัง นีโม เนื่องจากเป็นที่คุ้นตามากกว่า ซึ่งปลาการ์ตูนเป็นปลา
ที่มีลักษณะเฉพาะคือว่ายน้ำบิดไป-มา ทำให้ดูน่ารักเป็นพิเศษ และสามารถเลี้ยงได้
โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเล ( Anemone ) ซึ่งต้องใช้ไฟจัดในการเลี้ยงเท่านั้น
( ไฟ MH หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ 6 หลอดขึ้นไป )

ข้อดี 1.มีรูปร่างน่ารักสวยงาม สีสันฉูดฉาด สะดุดตา
2.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด ( บางตัวอาจต้องหัดกิน
อาหารสำเร็จรูปก่อน )
3.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย
4. เป็นปลาที่ไม่ดุร้ายกับปลาชนิดอื่น เลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ ยกเว้น การ์ตูนบางชนิด
5.มีราคาตั้งแต่ถูก ถึง แพง ขึ้นอยุ่ว่านำเข้าหรือไม่ หรืออาจมีลายที่หาพบได้ยาก

ข้อเสีย 1.เป็นปลาที่ชอบถูกจับยามาจากทะเล ทำให้มาตายในตู้เราโดยไม่รู้สาเหตุ
2.สำหรับ ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนลายปล้อง และปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นปลา
ที่ดุร้ายมาก หวงถิ่น มักจะกัดปลาการ์ตูนด้วยกัน นอกเสียจากมันจะจับคู่กันแล้ว
จึงไม่ควรเลี้ยงปลาการ์ตูนหลายๆชนิดในตู้เดียวกัน นอกจากตู้จะใหญ่ และลง
ปลาตามลำดับความดุร้าย จากดุร้ายน้อย ไปมาก

– ปลาตระกูล dottyback ( ระดับความยากในเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาตัวเล็กที่มีสีสันฉูดฉาด ที่พบมากได้แก่ ปลาสตอเบอรี่ ปลาแพคคาเนลล่า
( หวานเย็น ) ปลาไดเดรียม่า ปลารอยอลแกรมม่า ซึ่งเป็นปลาที่มีสีชมพูทั้งตัว อาจมีสีเหลือง
สลับครึ่งบน ครึ่งล่างแล้วแต่ชนิด

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2. มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา
3.เป็นปลาที่ราคาไม่แพงมาก ยกเว้น รอยัลแกรมม่าที่มีราคาค่อนข้างสูง
4.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย แต่ถ้าอุณหภูมิ
เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจเป็นจุดขาวได้

ข้อเสีย -เป็นปลาที่ดุมาก หวงถิ่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ
กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น

– ไฟร์ฟิช ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
เป็นปลาตระกูลโกบี้ ลำตัวยาว มีครีบหลังยาวเป็นเอกลักษณ์ สำหรับอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อยคือ
Purple firefish ซึ่งมีราคาแพงกว่าเล็กน้อย

ข้อดี 1. มีสีสันสวยงาม รูปร่างเป็นเอกลักษณ์
2.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
3.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดีพอสมควร แต่ค่อนข้างอ่อนแอในน้ำที่
ไม่มีคุณภาพ
4.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้

ข้อเสีย 1.เป็นปลาขี้ตกใจ ถ้าในตู้มีปลาที่ว่ายน้ำเร็วๆ หรือปลาที่ไล่ จะหลบอยู่แต่ในหิน
ไม่ออกมาโชว์ตัว ไม่กินอาหารและอาจกระโดดออกมาจากตู้ทำให้ตายได้
ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยสำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้ ป้องกันได้โดยการหาฝาปิดตู้
2.อาจดุร้ายต่อปลาชนิดเดียวกันยกเว้นถ้าจับคู่แล้ว จึงแนะนำให้เลี้ยงตู้ละ 1 ตัว
หรืออาจเลี้ยงหลายตัวได้ถ้าตู้ใหญ่และมีที่หลบมากพอ

– ปลาตระกูลเบลนนี่ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่มีรูปร่างยาว ชอบว่ายน้ำสลับกับเกาะไปตามหิน ตามพื้น มีหลายพันธุ์ หลายแบบ
ตามร้านขายปลาทะเลทั่วไป

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด บางชนิดอาจกินตะไคร่
ได้ดี เช่น Bicolour blenny หรือบางชนิดอาจจะกินตะไคร่ตามพื้นทราย
2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดีและราคาไม่แพงมาก
3.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้

ข้อเสีย 1.บางชนิดอาจมีสีสันไม่ค่อยสวยงาม หน้าตาประหลาด
2.อาจดุร้ายกับพวกเดียวกันได้

– ปลาตระกูลโกบี้ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่มีหลายสายพันธุ์มากที่เห็นบ่อยได้แก่ แก้วปะการัง, Two spot goby ,
โกบี้บิน , โกบี้ขาว เป็นต้น

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด บางชนิดอาจกินตะไคร่
ได้ดี เช่น Two spot goby หรือบางชนิดอาจจะกินตะไคร่ตามพื้นทรายโดยการ
อมทรายเ้ข้าไปแล้วปล่อยออกมา
2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
3.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้
4.บางชนิดมีสีสันสวยงามและราคามีหลายระดับตั้งแต่ถูกถึงแพง

ข้อเสีย 1.บางชนิดอาจมีสีสันไม่ค่อยสวยงาม หน้าตาประหลาด
2.บางชนิดที่อมทราย จะเป็นการกำจัดสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มีประโยชน์ในทรายและ
อาจจะพ่นทรายฟุ้งในตู้ทำให้น้ำขุ่นและรบกวนปะการัง
3.ดุร้ายกับพวกเดียวกันนอกจากจับคู่แล้ว จึงแนะนำให้เลี้ยงตู้ละ 1 ตัว

– ปลาคาร์ดินัล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7.5 )
ส่วนมากที่พบคือ ปลาคาร์ดินัลลองฟิน ที่มีลายขาวสลับดำและ ปลาคาร์ดินัลตาแดง ซึ่ง
เป็นปลาที่ชอบลอยนิ่งๆอยู่กับที่ ไม่ค่อยว่ายน้ำไปไหน มีลักษณะตาโต สีสันสวยงาม

ข้อดี 1.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี แต่ถ้าสภาวะเปลี่ยนแปลงมากจะเป็นจุดขาว
และอาจเปื่อยได้
2.เป็นปลาที่นิสัยสงบมาก ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้และสามารถ
เลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้ โดยวันๆจะลอยนิ่งอยู่กลางน้ำ
3.มีรูปร่างแปลกเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม

ข้อเสีย – ส่วนมากจะกินแต่อาหารสด ไม่ค่อยกินอาหารเม็ด นอกจากจะเลี้ยงไปนานๆ
หรือฝึกให้กิน ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหาเรื่องการให้อาหาร

– ปลาตระกูล Wrasse ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
สำหรับปลาตระกูลนี้บางชนิดก็เลี้ยงยาก เช่น ปลาพยาบาล มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เลี้ยง
ง่าย เช่น Sixline wrasse, ปลากัดทะเล , แก้วเหลือง , แก้วแดง เป็นต้น ซึ่งเวลานอน
อาจจะมุดทราย หรือ สร้างเมือกขึ้นมาห่อหุ้มตัวเอง

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
3.เป็นปลาเล็ก ที่มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาดสะดุดตา
4.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้รวมทั้งพวกเดียวกัน

ข้อเสีย -เป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนแอในบางภาวะ อาจตายโดยไม่ทราบสาเหตุ 

– ปลาสิงโต ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมาก โดดเด่นและสะดุดตา ปลาสิงโตนี้มีหลายพันธุ์แตกต่าง
กันไป ซึ่งเป็นปลาที่แปลกและหาได้ไม่ยาก

ข้อดี 1.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย
2.เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง มีครีบที่ดูอลังการ
3.มีราคาไม่สูงมากถ้าเทียบกับความสวยงามของมัน

ข้อเสีย 1.เป็นปลาที่ไม่กินอาหารสำเร็จรูป ต้องเลี้ยงด้วยอาหารสด ซึ่งให้เพียงไรทะเล
อาจไม่เพียงพอ อาจต้องให้กุ้งฝอย ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก
2.ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับกุ้ง หรือ ปลาขนาดเล็กกว่าปากมันได้ เนื่องจากจะถูก
กินเป็นอาหาร
3.มีพิษที่ครีบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้เลี้ยงได้ถ้าเผลอไปโดน

– ปลาตระกูลแทงค์ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7 )
เป็นปลาที่มีหลายพันธุ์ เช่น Blue tang ,Yellow tang ,Purple tang เป็นต้น สำหรับ
ปลาที่แนะนำสำหรับมือใหม่ได้แก่ Brown tang , Baby tang เป็นปลาที่กินเยอะและ
ถ่ายของเสียเยอะ ชอบว่ายน้ำ

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด นอกจากนี้ยังเป็นปลา
ที่ชอบกินสาหร่ายหรือสามารถให้ผักกาดกินเป็นอาหารได้
2.เป็นปลาที่นิสัยไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆได้
3.เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม สะดุดตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
4.มีหลายราคา ตั้งแต่ ปานกลางไปจนถึงแพง

ข้อเสีย 1.เนื่องจากเป็นปลาที่กินมากและขับถ่ายของเสียมาก จึงจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงในตู้
ที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น ประกอบกับนิสัยที่ชอบว่ายน้ำไปมาของมันด้วย
2.ตู้ที่เลี้ยงควรเป็นตู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 – 6 เดือน เพื่อจะได้มีระบบที่เสถียร
และสามารถรองรับของเสียที่เกิดขึ้นจากตัวปลาได้
3.เป็นปลาที่เป็นจุดขาวง่ายมาก ดังนั้นอุณหภูมิจะต้องเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด

การเลี้ยงปลาทะเลเบื้องต้น

การเลี้ยงปลาทะเลเบื้องต้น

   การเลี้ยงปลาทะเลนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก ถ้าผู้เลี้ยงเป็นคนที่ใจเย็นและมีความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการเลี้ยงปลาทะเลนั้นต่างจากการเ้ลี้ยงปลาน้ำจืดที่คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงกัน   เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่มีความจำเพาะเจาะจง… สำหรับคนที่มีความต้องการเลี้ยงปะการังด้วยนั้นก็จะเพิ่มความยากในการเลี้ยงตามชนิดของปะการังที่เลี้ยง โดยการเลี้ยงปะการังนั้น ก็จำเป็นต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งอุปกรณ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จอย่างมาก

ปัจจัยต่างๆที่ต้องคำนึงในการเลี้ยงปลาทะเล

1. น้ำ
แน่นอนว่าการเลี้ยงปลาทะเลก็จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำเค็มในการเลี้ยงโดยแหล่งน้ำที่ใช้
้เลี้ยงนั้นสามารถหาได้โดยใช้น้ำทะเลจริง ซึ่งควรจะใช้น้ำทะเลที่ห่างจากฝั่งพอสมควร
เพื่อที่จะได้ไม่ีมีมลภาวะต่างๆ หรืออาจจะซื้อน้ำทะเลที่มีขายอยู่ตามร้านขายปลาทะเลก็ได้
นอกจากนี้ อาจจะใช้เกลือสังเคราะห์สำหรับเลี้ยงปลาทะเลโดยเฉพาะซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป มีหลายยี่ห้อ
และเป็นที่นิยมเนื่องจากสะดวกกว่า จากนั้นก็นำเกลือที่ได้นำมาผสมน้ำตามสัดส่วน
ที่ระบุไว้ข้างถุง โดยน้ำที่ใช้ถ้าเป็นน้ำกลั่นจะดีมาก หรืออาจใช้น้ำที่กรองแล้วเนื่องจาก
การใช้น้ำประปาจะมีฟอสเฟสมาก และเป็นที่มาของตะไคร่ในตู้ ทำให้เกิดความไม่สวยงามได้
้ซึ่งการผสมน้ำนั้นให้ค่อยๆเทเกลือลงในน้ำและคน อาจเปิดปั๊มอ๊อกหัวทรายเพื่อให้น้ำไหลเวียน
หรืออาจจะผสมลงตู้เลยก็ได้ และใช้อุปกรณ์สำหรับวัดความเค็ม (Hydrometer) ซึ่งวัดในรูป
ความถ่วงจำเพาะให้ได้ค่าประมาณ 1.020-1.025 โดยเครื่องวัดความเค็มนั้นมีหลายราคา
ตั้งแต่ถูกจนถึงแพง

2. ระบบกรอง
ระบบกรองน้ำในตู้นั้นมีความสำคัญมากเนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพน้ำ
ภายในตู้ ซึ่งจริงๆแล้วระบบกรองในตู้ทะเลมีหลายแบบและมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันออกไป
ในที่นี้จะกล่าวถึงระบบที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้และมีคุณภาพ นั่นคือการใช้ระบบกรองข้าง
ภายในตู้ หรือการใช้ระบบกรองล่าง ภายนอกตู้ ซึ่งจะต้องมีปั๊มดูดน้ำจากในตู้ไปยังช่องกรอง
ซึ่งสำหรับกรองข้างนั้นภายในอาจจะบรรจุด้วย…

– ใยแก้ว ชั้นบนสุดสำหรับกรองเศษสิ่งสกปรกซึ่งอาจจะเกิดการหมักหมมได้
ดังนั้นจึงควรหมั่นทำความสะอาดด้วย
– Bio ball เพื่อเพิ่มการแตกตัวของน้ำ ทำให้ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากขึ้น
จึงเป็นการเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำให้สูงขึ้น
– เศษปะการัง , เปลือกหอยนางรมทุบ หรือ Bio ring เพื่อเป็นการ เพิ่มพื้นที่
สำหรับเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียในระบบของเรา
( วัสดุต่างๆอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความสะดวกของผู้เลี้ยง )

สำหรับระบบกรองล่าง นอกตู้ันั้น จะยุ่งยากกว่าเล็กน้อยแต่จะมีประสิทธิภาพในการ
กรองมากกว่าระบบกรองข้าง ซึ่งการกรองแบบนี้จำเป็นต้องมีตู้กรองแยกออกมาจากตูู้็หลัก
และมีการดูดน้ำจากตู้หลักมายังตู้กรอง โดยเจาะรูที่ด้านข้างของตู้หลัก และใช้ท่อส่งน้ำ
เข้าตู้กรอง ซึ่งตู้กรองนั้นจะแบ่งเป็นช่องย่อยๆสำหรับกรองน้ำขึ้น ลงจากฝั่งนึงไปยังฝั่งนึง
และใช้ปั๊มสูบน้ำขึ้นไปยังตู้หลัก โดยตู้กรองจะแบ่งเป็นช่องๆดังนี้..

– ช่องแรก มักใส่พวก ใยแก้ว รวมถึง Bio ball ซึ่งอาจจะเกืดการหมักหมมได้
– ช่อง 2 ใส่เศษปะการัง , เศษเปลือกหอยนางรม , Bio ring หรือวัสดุกรองอื่นๆ
( 2 ช่องแรกใช้เนื้อที่ประมาณ 30% )
– ช่อง 3 จะใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกสาหร่าย เพื่อดูดซับสารพิษหรือแร่ธาตุที่มีผลเสียบางอย่าง
และเป็นการเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ หรือใส่หินเป็น เพื่อเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียสำหรับกระบวนการ
กำจัดของเสียจำพวกไนเตรตภายในตู้เรียกว่า Refugium ซึ่งอาจต้องติดตั้งไฟ
สำหรับเลี้ยงสาหร่ายให้สังเคราะห์แสง สำหรับส่วนนี้จะเป็นส่วนที่พัก สำหรับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ
และระบบกรองทางชีวภาพซึ่งจะกล่าวรายละเอียดต่อไป

จากที่กล่าวมา สำหรับกรองล่างนั้นสามารถสั่งทำได้จากร้านค้าสำหรับทำตู้ปลาได้เลยและ
อีกสิ่งที่ต้องคำนึงคือขาสำหรับตั้งตู้ปลาไม่ควรเป็นขาเหล็กเนื่องจากอาจเกิดสนิมได้ทำให้
ไม่แข็งแรง ที่นิยมคือขาไม้เนื่องจากไม่เป็นสนิม

3. ไฟ
              สำหรับการเลี้ยงปลาทะเลโดยที่ไม่เลี้ยงปะการังนั้น สามารถใช้ไฟอะไรก็ได้
เพื่อให้แสงสว่างและความสวยงามตามปกติ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมแสงสีขาวจากหลอด
ฟลูออเรสเซนต์ ผสมกับแสงสีฟ้าจากหลอด blue แต่สำหรับกรณีที่มีการเลี้ยงปะการังนั้น
จำเป็นจะต้องเพิ่มปริมาณไฟ เนื่องจากปะการังส่วนใหญ่ดำรงชีวิตโดยการสังเคราะห์แสง
ซึ่งต้องใช้แสงปริมาณมากและต่างกันไปตามความต้องการของปะการังแต่ละชนิด ซึ่งหลอดไฟ
ที่สามารถเลี้ยงปะการังชนิดที่ต้องการแสงจัด ( ส่วนมาก ) ได้ดีและเป็นที่นิยม คือ หลอดไฟ MH
ซึ่งจะเกิดปัญหาในเรื่องของอุณหภูมิตามมาและมีราคาค่อนข้างสูง แต่สำหรับปะการังที่ใช้
แสงน้อยก็ สามารถใช้หลอดฟลูออเรสต์เซนต์หลายๆหลอดในการเลี้ยงได้ และปะการังบางชนิด
ก็ไม่ใช้แสงในการดำรงชีวิตต่างกันออกไปซึ่งไฟที่เราจะเลือกนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชิวิตที่
ี่เราจะเลี้ยง  ซึ่งโดยปกติแล้้ิวหลอดไฟต่างๆจะมีอายุการใช้งานที่จำกัด ( ประมาณ 1 ปี )
ซี่งเมื่อหมดอายุ หลอดไฟจะให้ค่าความสว่างลดลงและอาจมีสีที่ผิดเพี้ยนจากเดิม

4. อุณหภูมิ
โดยปกติแล้ว อุณหภูมิในทะเลเขตร้อน จะเย็นกว่าอุณหภูมิ ของอากาศบ้านเรา
ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงปลาทะเลนั้นอยู่ที่ 25 – 29 องศาเซลเซียส
ซึ่งปลาบางชนิดจะีมีความสามารถในการทนต่ออุณหภูมิสูงๆได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปะการัง
จะชอบอยู่ในอุณหภูมิที่เย็นๆ และอาจตายได้ถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่ิร้อนจนเกินไป
และ่สิ่งที่สำคัญมากที่สุด ก็คือความคงที่ของอุณหภูมิ ซึ่งสำคัญมากต่อสุขภาพของปลา
โดยอุณหภูมิที่แกว่ง ขึ้น-ลงไปมาในแต่ละวัน จะทำให้ปลาปรับตัวยาก เกิดโรคต่างๆเนื่องจาก
ภูมิต้านทานลด เกิดความเครียด ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยมากก็คืออุณหภูมิในตู้สูงเกินไป โดยผู้เลี้ยง
อาจแก้ไขได้ด้วยการติดพัดลมเป่าที่ผิวน้ำ หรือติดเครื่องทำความเย็น ( Chiller ) ซึ่งมีราคา
ที่สูงมากแต่สามารถคุมอุณหภูมิได้คงที่และเย็นได้ตามต้องการ ส่วนอีกปัญหาีนึงก็คือ
การเลี้ยงปลาในห้องแอร์ และมีผลทำให้ีอุณหภูมิในตู้ิ เย็นเกินไป สามารถแก้ไขได้โดยการติด
Heater ในตู้ปลาซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายและมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป

5. หินเป็น
หินเป็นคือหินที่เกิดจากซากปะการังตายมาเกาะตัวกันเป็นก้อน ซึ่งภายในมีลักษณะ
พิเศษต่างจากหินทั่วไปคือมีรูพรุน ซึ่งเหมาะสมสำหรับเป็นที่อยู่สำหรับแบคทีเรียที่มีประโยชน์
ในการกำจัดของเสียไนเตรตภายในตู้และนอกจากนี้ จะมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆหลายชนิดอาศัยอยู่
่ภายใน เช่น ดาวเปราะ , ปู ( อันตรายต่อปลา ควรเอาออก ) , หนอน และอื่นๆ   ซึ่งสิ่งมีชีวิต
เหล่านี้จะช่วยให้ ระบบนิเวศน์ภายในตู้ของเราสมบูรณ์และคล้ายกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
โดยที่ถ้าในตู้มีหินเป็นมากเท่าไหร่ ระบบภายในตู้ก็จะยิ่งเสถียรมากเท่านั้น
สำหรับการเิริ่มตั้งตู้ปลาทะเลนั้น หินเป็นมีความจำเป็นมาก เพราะจะช่วยเร่งระยะเวลา
การเซตตู้ให้เร็วขึ้นและทำให้ระบบเสถียรมากขึ้น นอกจากนี้เรายังใช้หินเป็นในการจัดตู้
เพื่อความสวยงาม เป็นฐานสำหรับวางปะการังได้ตามความต้องการอีกด้วย ซึ่งหินเป็นนั้น
สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาทะเล และหินเป็นที่มีคุณภาพคือหินเป็นที่บำบัดแล้ว
มิฉะนั้นอาจทำให้น้ำในตู้เน่าเสียหรือเหลืองได้ และหินเป็นเหล่านี้ต้องเปียกเสมอ ถ้าหินแห้ง
นั้นจะเรียกว่าหินตาย ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่แล้วแต่สามารถกลายเป็นหินเป็นได้ ถ้านำมาไว้ในตู้
เดียวกันกับหินเป็นเพราะจะมีสิ่งมีชีวิตย้ายเข้าไปอาศัยอยู่เพิ่ม

6. การเซตตู้
ความยากอย่างหนึ่งของการเลี้ยงปลาทะเลและถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ความใจเย็น
อย่างมากนั่นก็คือขั้นตอนการเซตตู้ เนื่องจากการเลี้ยงปลาทะเลนั้นเราไม่สามารถใส่น้ำและ
ใส่ปลาได้เลยทันทีเพราะการทำแบบนี้จะทำให้ปลาตาย เนื่องด้วยระบบภายในตู้ไม่สามารถ
กำจัดและรองรับของเสียที่เกิดจากปลาได้ เพราะของเสียเหล่านี้จำเป็นต้องถูกกำจัดโดย
แบคทีเรียที่มีในตู้ซึ่งต้องมีปริมาณมากระดับหนึ่ง เมื่อแรกเริ่มตั้งตู้ครั้งแรกนั้นจะยังไม่มี
แบคทีเรีย เราจึงต้องทำการใส่หัวเชื้อแบคทีเรียลงในตู้ ( สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้า
ขายอุปกรณ์เลี้ยงปลา )ที่ใส่น้ำจนเต็มและรันน้ำทิ้งไว้อย่างนั้นเป็นเวลา 1- 3 เดือน เพื่อเป็นการ
เพิ่มจำนวนแบคทีเรียในตู้ให้มีปริมาณมากพอ ซึ่งสำหรับขั้นตอนนี้เราจะต้องทำการลงหินเป็น
ไปด้วยเพื่อให้ระบบการเซตตัวสมบูรณ์สำหรับเป็นที่ลงเกาะของแบคทีเรีย โดยยิ่งมีหินเป็นมาก
ก็จะยิ่งทำให้ระบบเซตตัวได้เร็วขึ้น และสำหรับขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องเปิดไฟเพราะจะทำให้
มีตะไคร่ขึ้นมากทำให้เกิดความไม่สวยงาม ซึ่งในช่วงแรกของการเลี้ยงปลาันั้น การเกิดตะไคร่
ในตู้เป็นเรื่องปกติและจะลดลงเมื่อตู้เสถียรมากขึ้น ทั้งนี้เราอาจจะใช้วิธีควบคุมการเกิด
ตะไคร่ได้หลายวิธี เช่น เลี้ยงสัตว์ที่กินตะไคร่ , การใช้ Phosphate remover , การขัดออก
การเลี้ยงสาหร่าย หรือลดเวลาการเปิดไฟ เป็นต้น

7. การปูพื้น
สิ่งที่จะนำมาปูพื้นนั้นมีได้ีหลายอย่างเช่น เศษปะการัง ซึ่งมีความละเอียดแตกต่างกันไป
ที่นิยมได้แก่เศษปะการังเบอร์ 0 และที่นิยมอีกอย่างนึงคือทรายเป็น ซึ่งเป็นทรายละเอียดจาก
ทะเลที่มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆอาศัยอยู่ ซึ่งบางทีเราอาจใช้ทรายละเอียดธรรมดาปูก็ได้ ซึ่งภายหลัง
จะมีสิ่งมีชีวิตจาก หินเป็น ไปอาศัยอยู่และกลายเป็น ทรายเป็น ในที่สุด ซึ่งปกติแล้วเราจะปู
ทรายค่อนข้างหนา ( โดยเฉลี่ย 4 นิ้ว ) เนื่องจากต้องการให้บริเวณล่างๆของพื้นทรายนั้น
เป็นส่วนที่ไม่มีอ๊อกซิเจนและจะเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียชนิดที่ไม่ใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งจะมีประโยชน์
ในระบบการย่อยสลายของเสียภายในตู้ ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป สำหรับข้อเสียบางอย่าง
ที่เกิดขึ้นคือ จะเกิดคราบดำๆที่ทรายเมื่อตู้มีอายุ ซึ่งจะทำให้ดูไม่สวยงาม

8. การลงปลาและสิ่งมีชีวิต
หลังจากที่เราเซตตู้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการลงปลา ซึ่งสำหรับการลงปลา
นั้น เราไม่ควรที่จะลงปลาทีละมากๆ เนื่องจากระบบยังรองรับของเสียได้ไม่ทัน ดังนั้นเราจึง
ต้องค่อยๆลงปลาทีละ 1-2 ตัวเท่านั้น เพื่อที่แบคทีเรียจะได้สามารถกำจัดของเสียที่เกิดขึ้น
ได้ทันและแบคทีเรียจะทำการเพิ่มปรืมาณมากขึ้น ซึ่งระยะห่างในการลงปลาแต่ละครั้ง
ควรจะเว้นไว้อย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ สำหรับปลาบางชนิดจะสามารถเลี้ยงได้ในตู้ที่มีอายุ
นานแล้วเท่านั้น ( 3-6 เดือน ) เช่นปลาตระกูลแทงค์ เนื่องจากปลาเหล่านี้เป็นปลาที่ขับถ่าย
ของเสียปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องเลี้ยงภายในตู้ที่ค่อนข้างเสถียรแล้ว
สำหรับขั้นตอนการลงปลา ไม่ใช่เพียงซื้อปลามาแล้วเทจากถุงใส่ตู้ทันที เนื่องจากปลาอาจ
เกิดการช๊อคน้ำได้ และอาจตายได้ในเวลาต่อมา เราจึงต้องทำการปรับอุณหภูมิและปรับความ
เค็มก่อน ซึ่งการปรับอุณหภูมิทำได้โดยการลอยถุงปลาไว้ที่ผิวน้ำในตู้ก่อนปล่อยลงตู้เป็นเวลา
20-60 นาที ส่วนการปรับความเค็มนั้นทำได้โดยการค่อยๆผสมน้ำในตู้ของเรากับน้ำที่มาจาก
ร้าน ซึ่งอาจจะทำในภาชนะอื่นก็ได้และจะเป็นการปรับอุณหภูมิไปด้วยภายในตัว สำหรับตู้ที่
ทำการเลี้ยงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาจต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของน้ำที่มากับร้าน
เนื่องจากน้ำจากบางร้านอาจจะไม่มีคุณภาพหรืออาจใส่ยาที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ไม่มีกระดูก
สันหลังภายในตู้ของเรา และเพื่อลดความเครียดของปลาอาจปล่อยปลาในขณะที่ปิดไฟตู้
และยังไม่ต้องให้อาหาร เนื่องจากปลายังต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม

9. การเลือกสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง
สิ่งสำคัญในการเลือกชนิดของสิ่งมีชีวิตที่จะนำมาเลี้ยงนั้นคือความเหมาะสมของสภาพ
แวดล้อม ขนาดของตู้ และความเข้ากันได้ของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ การเลี้ยงปลาที่มากเกินไป
นอกจากจะทำให้คุณภาพของน้ำแย่ได้ง่ายแล้ว บางครั้งอาจทำให้ปลาเครียดจากการแย่ง
ที่อยู่ จากการกัดกัน เนื่องด้วยปลาทะเลส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่หวงถิ่นและบางชนิดสามารถเลี้ยงได้
ชนิดละ 1 ตัวเท่านั้นภายในตู้ ดังนั้นเราจึงควรทำการศึกษาถึงลักษณะการใช้ชีวิตและ
รายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของสิ่งมีชิวิตที่เราสนใจจะนำมาเลี้ยง นอกจากนี้อีกสิ่งที่ต้องคำนึง
คือสิ่งมีชีวิตบางชนิดเลี้ยงยากเนื่องจากเงื่อนไขในการดำรงชีวิตหลายๆอย่าง และบางชนิด
อาจเลี้ยงไม่ได้เลยในระบบปิด หรืออาจมีอายุขัยสั้น ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้อาจจะมีสีสัน
สวยงามสะดุดตา และปะปนไปตามร้านขายปลาทะเล ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องศึกษาและควร
หลีกเลี่ยงที่จะนำสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มาเีลี้ยงเพื่อเป็นการอนุรักษ์สัตว์เหล่านี้ให้อยู่ตามธรรมชาติ
ของมันต่อไป

10. การให้อาหารและแร่ธาตุเสริม
ปลาทะเลส่วนมากสามารถให้อาหารสำเร็จรูปให้กินได้ ซึ่งมีทั้งแบบเม็ดเล็ก เม็ดใหญ่
แบบแผ่น ต่างกันออกไป แต่ปลาบางชนิดอาจกินเฉพาะอาหารสดเท่านั้น ซึ่งเราสามารถ
ให้ไรทะเลเป็นอาหารไ้ด้ โดยที่ไรทะเลนั้นก็มีทั้งแบบเป็นๆ และแบบแช่แข็ง ซึ่งสำหรับปลา
บางชนิดอาจสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ตามเทคนิคแต่ละคน สำหรับระยะยาวแล้ว
การให้ไรทะเลเป็นอาหารอย่างเดียวอาจให้สารอาหารที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะสลับให้อาหารสด
เช่นกุ้งสับ หอยสับ สาหร่าย ต่างๆกันเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารหรือให้อาหารต่างๆกันไป
ในแต่ละมื้อก็ได้เพราะจะทำให้ปลาไม่เบื่อด้วย สำหรับกรณีที่มีการเลี้ยงปะการังอาจจะัต้อง
มีการใส่แร่ธาตุเสริมด้วยซึ่งแตกต่างกันออกไปตามชนิดของปะการัง ที่นิยมได้แก่ แคลเซียม
สำหรับปะการังโครงแข็ง ,ไอโอดีน และอื่น ๆ

11. อุปกรณ์เสริมต่างๆที่ใช้ในตู้ทะเล 
จาก 10 ข้อที่กล่าวมา ก็สามารถทำให้คุณเลี้ยงปลาทะเลได้อย่างมีความรู้ระดับนึงแล้ว
นอกจากนี้การเลี้ยงปลาทะเลอาจจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมต่างๆอีก เช่น

– น้ำยาสำหรับวัดค่า nitrite ( NO2 ) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากวงจรไนโตรเจนในกระบวนการ
กำจัดของเสีย ซึ่งมีพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตถ้ามีปริมาณมากจนเกินไป ดังนั้นเราจึงควรมีอุปกรณ์
์   ที่สามารถวัดปริมาณได้
– โปรตีนสกิมเมอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กำจัดสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นภายในตู้โดยใช้ระบบฟอง
อากาศ ซึ่งรวมถึงการกำจัดเมือกที่เกิดขึ้นจากปะการังบางชนิดด้วย ซึ่งจะทำให้น้ำในตู้
มีคุณภาพที่ดี ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเหมือนกันในตู้ทะเล ซึ่งเราอาจติดตั้งไว้ในกรองล่างก็ได้
– ปั๊มน้ำ สำหรับเพิ่มกระแสน้ำภายในตู้ เพื่อการหมุนเวียนของน้ำและเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ
ซึ่งปั๊มน้ำนั้นมีความแรงหลายระดับ เราอาจติดตั้งปั๊มน้ำมากกว่า 1 ตัวในตู้เพื่อเพิ่มกระแสน้ำ
ภายในตู้ได้โดยเฉพาะตำแหน่งที่กระแสน้ำน้อย ( 800 – 2500 ลิตรต่อชั่วโมง ) ซึ่งกระแสน้ำ
บางทีก็มีความจำเป็นต่อปะการังบางชนิดที่ต้องการกระแสน้ำที่แรงเป็นพิเศษ
– ปั๊มลมใช้ถ่าน พร้อมหัวทราย เพื่อป้องกันเวลาที่เกิดไฟดับ สามารถใช้เพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ
ได้แทนปั๊มหลักที่ใช้ภายในตู้

ขอบคุณข้อมูลจาก http://my-aquariums.tripod.com/Articles_page/Articles1-1.html